Flowers

Published on มกราคม 8th, 2014 | by Divali

0

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

ชื่ออื่น ๆ : หญ้างวงช้างน้อย (ภาคเหนือ), ผักแพวขาว (กาญจนบุรี), กุนอกาโม (มาเลเซีย-ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliotropium indicum (Linn.) R.Br.
วงศ์ : BORAGINACEAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูง ประมาณ 0.5-3 ฟุต ทั่วลำต้นมีขนสั้น
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบหยักหรือมีคลื่นเล็กน้อย คนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ พื้นผิวหยาบ ขรุขระ มีขนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 1-3 นิ้ว
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 7 นิ้ว ปลายช่อม้วนเหมือนงวงช้าง ลักษณะของดอกเรียงเป็นแถว มีสีขาว หรือสีฟ้า เป็นดอกขนาดเล็ก มีกลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกัน ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 2 มม. ข้างดอกมีขนนุ่ม ภายในท่อดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และเกสรตัวเมียอยู่ 2 อัน ติดอยู่กับฐานดอก
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ เปลือกผลแข็ง มีขนาดเล็ก ภายในผลมี 2 ช่อง ๆ หนึ่งมี 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่มักพบทั่วไป ในที่ที่มีความชื้น ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น ใบ ดอก ราก
สรรพคุณ :

ทั้งลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้หอบหืด แก้ขัดเบา แก้ไข้ ปอดอักเสบ เจ็บคอ แก้นิ่ว แผลบวมมีหนอง แก้ตาฟาง และเป็นยารักษาโรคชักในเด็ก เป็นต้น
ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเป็นยาหยอดหู รักษาสิว พอกฝี พอกแผล รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ เป็นต้น
ดอก ใช้ดอกสด นำมาต้มกินเป็นยาขับระดู
ราก ใช้รากสด นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำหยอดตาแก้ตาฟาง ตามัว และแก้ตาเจ็บเป็นต้น

ข้อห้ามใช้ : สตรีที่ตั้งครรภ์ ถ้าใช้มากเกินขนาด อาจทำให้แท้งได้

ข้อมูล : สมุนไพรดอทคอม
ภาพ : ติ๋ว ผกาทิพย์

Please follow and like us:
Pin Share

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑