Published on ตุลาคม 6th, 2013 | by Divali
1เอื้องกุหลาบกระบี่
ชื่อ : กุหลาบกระบี่, เอื้องกุหลาบพวงชมพู, เอื้องกุหลาบกระบี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aerides krabiense Seidenf.
ลักษณะทั่วไป : กุหลาบชมพูกระบี่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลกุหลาบที่พบในประเทศไทย เป็นกุหลาบที่ต้นมักแตกเป็นกอ ใบแคบหนา โค้งงอและห่อเป็นรูปตัววี ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไปและปรากฏมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัดหรืออากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับใบเข็มแดง ช่อดอกยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อเอนขนานไปกับใบ ปลายช่อโค้งลง บางต้นพบช่อดอกแตกแขนงด้วย มีเดือยดอกสั้นมาก ปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบมาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตกต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดงปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้างและมน
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย: ขึ้นตามผาหินปูนทางภาคใต้ ปัจจุบันค่อนค้างน้อยมาก
และการกระจายพันธุ์ : พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงเกาะต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย
สถานภาพ : พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518 ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
ภาพ…กระบี่
–
One Response to เอื้องกุหลาบกระบี่