NEWS

Published on กรกฎาคม 6th, 2016 | by Divali

0

ประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการ ตั้งแต่เวลา 08.00 16.00 น

เพื่อความเข้าใจเเละความพร้อมในการใช้สิทธิออกเสียงประชามติครั้งสำคัญอีกครั้งในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อการปฏิรูปประเทศให้เกิดการพัฒนา อย่างยั่งยืน
ประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการ
ตั้งแต่เวลา 08.00 16.00 น.
ความพร้อม 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ
1. อาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันลงประชามติ
อย่าหลงอย่าลืม กกต.กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 วันนี้วันเดียวเท่านั้นเป็นวันออกเสียงประชามติ
2. เริ่มออกเสียง ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.
วันออกเสียงประชามติคูหาลงคะแนนเริ่มเปิดเวลา 08.00 น. และจะปิดลงในเวลา 16.00 น. อย่าลืมเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ, บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร ให้พร้อมเพื่อแสดงตนในการไปออกเสียง
3. ไม่มีการลงคะแนนล่วงหน้าหรือลงคะแนนนอกประเทศ
ย้ำอีกครั้งวันออกเสียงประชามติจะเกิดพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เท่านั้น ไม่มีการออกเสียงล่วงหน้า และไม่มีการออกเสียงนอกประเทศไทย (link is external)
4. ออกเสียงเสียงนอกพื้นที่ได้ ถ้าไม่สะดวกกลับบ้าน
สำหรับใครก็ตามที่ไม่สามารถออกเสียงประชามติที่บ้านตามที่อยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน สามารถลงทะเบียนออกเสียงนอกพื้นที่ได้ โดยลงทะเบียนผ่าน 3 ช่องทางคือ (1) ยื่นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (2) ยื่นทางไปรษณีย์ (3) ยื่นด้วยตนเอง ที่สำนักงานเขต สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งวันที่ 17 กรกฎาคม 2559 จะเป็นวันประกาศบัญชีรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด (คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
5. ลงทะเบียนออนไลน์ออกเสียงนอกเขต ถึง 30 มิถุนายน 2559
ช่องทางในการลงทะเบียนออกเสียงประชามตินอกพื้นที่แบบออนไลน์น่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายดายที่สุด ผู้ที่ต้องการออกเสียงนอกพื้นที่สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่ http://election.dopa.go.th (link is external) ภายในเวลา 24.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ทั้งนี้ทาง กกต.จะแจ้งไปที่บ้านของผู้ลงทะเบียนเพื่อยืนยันการใช้สิทธินอกเขต หาก กกต.ไม่ติดต่อมาอย่าลืมทวงถาม ไม่งั้นต้องกลับไปใช้สิทธิที่บ้าน
6. อายุ 18 ปี บริบูรณ์ในวันออกเสียงมีสิทธิออกเสียง (เกิดไม่เกิน 7 สิงหาคม 2541)
ใครที่อายุ 18 บริบูรณ์ในวันออกเสียงประชามติ (เกิดไม่เกิน 7 สิงหาคม 2541) ก็มีสิทธิไปลงคะแนนเสียงได้แล้ว โดยก่อนวันออกเสียง กกต.จะจัดส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้านเพื่อแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงไม่เกินวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ซึ่งหากรู้ว่าตัวเองมีสิทธิแต่ไม่มีรายชื่อ ต้องไปเพิ่มรายชื่อต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2559
7. การลงประชามติมีสองคำถาม
การลงประชามติมีสองคำถาม คำถามแรกคือ
“ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งฉบับ”
และคำถามที่สองคือ ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ประเด็นเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า
“เห็นชอบหรือไม่ ให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีในระหว่าง 5 ปีแรกของรัฐธรรมนูญนี้”
ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ส่งไลน์ต่อๆกันหรือเเชร์ในทุกช่องทางที่ท่านสื่อสารได้ เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศได้ร่วมกันตัดสินอนาคตประเทศร่วมกัน
Please follow and like us:
Pin Share

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑