Published on กุมภาพันธ์ 5th, 2014 | by Divali
0ความเข้าใจในสถานการณ์ไฟฟ้า
ประเด็นสำคัญในการสร้างคามรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ไฟฟ้า
1.การบริหารจัดการไฟฟ้าให้มั่นคงจำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นหลักคือ
กฟผ.ต้องผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการด้วยระบบที่มั่นคง
ไฟฟ้าต้องมีราคาเหมาะสมเพราะเป็นสาธารณูปโภคที่ประชาชนทุกคนจำเป็นต้องใช้
ต้องกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงให้สมดุลย์เพื่อลดการสุ่มเสี่ยงต่อการพึ่งพิงการใช้เชื้อเพลิงประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป
ต้องเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองเพียงพอและเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก เพื่อรักษาระดับค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชน
การผลิตไฟฟ้าต้องคำนึงถึงการดูแลมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน หากมีผลกระทบต้องมีแผนแก้ไขผลกระทบอันเป็นที่ยอมรับได้ของชุมชน
2.ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยประมาณ 2 โรงไฟฟ้า ( 1,600 เมกะวัฒน์ )
3.กฟผ.จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ด้วยเหตุผล 2 ประการหลักคือ
เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเดิมที่หมดอายุการใช้งานลง
4.ปัจจุบันโรงไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าจากการใช้เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติสูงที่สุดถึง 70 % ถ่านหิน 19 % พลังน้ำ 5 % ohe,yo 1.5 % ชื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน 6 %
5.ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าต่อวัน 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ถ่านหินวันละ 48,000 ตัน
6. ประเด็นสำคัญคือ ณ. ปัจจุบันสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนสูงมาก ( 70 % ) ซึ่งจะมีความเสี่ยงดังนี้
ความมั่นคงระบบไฟฟ้าลดลงบางช่วงเวลาเช่น เกิดภัยพิบัติ หรือเกิดการกระทำของคน ทำให้ระบบขนส่งเชื้อเพลิงก๊าซไม่สามารถใช้งานได้ หรือมีการหยุดจ่ายเชื้อเพลิงแก๊ซเพื่อดำเนินงานซ่อมบำรุงรักษา
ราคาเชื้อเพลิงแก๊ศมีความผันผวน ( มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นไปตามราคาน้ำมันโลก รวมทั้งปริมาณสำรองในอ่าวไทยลดลง หากคงใช้ในปริมาณนี้จะมีเชื้อเพลิงแก๊ซใช้งานได้อีก ไม่เกิน 10 ปีเท่านั้น ดังนั้นจึงมีการนำเชื้อเพลิงแก๊ซมาจากประเทศเมียนมาร์ และจากกลุ่มตะวันออกกลาง ( LNG )
7.ประเด็นสำคัญคือ การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จำเป้นต้องแสวงหาการใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่นที่ไม่ใช่ก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและรักษาราคาไฟฟ้าไม่ให้สูงขึ้น
8.แหล่งเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า น้ำมันประมาณ 40 ปี ก๊าซธรรมชาติประมาณ 60 ปี ถ่านหินประมาณ 150 ปี
9.ราคาเชื้อเพลิงแต่ละประเภท น้ำมันแพงที่สุด ก๊าซธรรมชาติแพงรองลงมา ถ่านหินถูกที่สุด
10.พลังงานหมุนเวียน ลมและแสงอาทิตย์ล้วมีข้อจำกัดในการผลิตที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้า เป้นแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักของประเทศได้ พลังงานหมุนเวียนคงพัฒนาได้เพื่อเสริมการผลิตไฟฟ้าหลักซึ่งจำเป้นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล คือก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน เป็นหลัก
11.ทางเลือกที่สำคัญของการพัฒนาโรงไฟฟ้าไทย จึงพิจารณาเห็นว่าถ่านหินเป็นทางเลือกการใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมมากที่สุดด้วยเหตุผลคือ
ลดสัดส่วนการใช้ก๊าซลง
ถ่านหินราคาถูกกว่าก๊าซ
ปริมาณถ่านหินสำรองยังเหลืออีกมาก
สามารถกำจัดมลสารจากกระบวนการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าได้ด้วยเทคโนโลยี่ โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด อันเป็นระบบมาตรฐานสากล
12.หากยังไม่สามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นได้และยังจำเป็นต้องใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่ต่อไป ก็จะต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG )จากต่างประเทศ ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าราคาก๊าซจากอ่าวไทยและพม่า ( มากกว่า 2 เท่า )เนื่องจากมีประเทศจำนวนมากต้องการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลว
13.โรงไฟฟ้าเทคโนโลยี่ถ่านหินสะอาด มีระบบการกำจัดมลสารมิให้ถูกระบายออกมาจากโรงไฟฟ้าคือ
การกำจัดขี้เถ้า ฝุ่นละอองขนาดเล็กและเบา ด้วยระบบไฟฟ้าสถิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูง
กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ด้วยระบบที่ใช้กันทั่วโลกอันเป็นมาตรฐานสากล
กำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซค์
มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบเครื่องตรวจวีดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการเก็บกองถ่านหินที่ดรงไฟฟ้า ต้องควบคุมมิให้เกิดการฟุ้งกระจาย จึงออกแบบให้มีการขนส่งแบบระบบปิดที่มิดชิด
14.กฟผ.จำเป็นต้องพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ในภาคใต้ เนื่องจากภาคใต้มีลักษณะที่ภูมิภาคอยู่ส่วนล่างสุดของประเทศไทยที่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้ในภูมิภาคของตนเอง
15.ปัจจุบันภาคใต้มีโรงไฟฟ้าที่พร้อมจ่ายไฟฟ้า ยังไม่เพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในภาคใต้ ทำให้ต้องส่งไฟฟ้ามาจากภาคกลางลงมาตามสายส่วไฟฟ้าแรงสูงเป็นระยะทางไหลมาก หลายร้อยกิโสเมตร ซึ่งเป็นภาวะที่สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของภาคใต้มาก ประกอบกับแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เพิ่มสูงขึ้น ( 6 % ต่อปี )อันเนื่องมาจาก การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ โดย้ฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีโรงไฟฟ้าบางส่วนที่หมดอายุการใช้งานลงด้วย ทำให้จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าในภาคใต้ใหม่เพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย
16.การพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ.จะดำเนินการด้วยกระบวนการที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการศึกษาผลกระทบของโครงการต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ( EHIA ) โดยสมบูรณ์และมีการเปิดเผยสู่เวทีสาธารณะ ต่อชุมชนให้รับรู้ และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะอย่างครบถ้วน