Published on กุมภาพันธ์ 5th, 2014 | by Divali
0แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสวนในหน้าแล้ง
แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสวนในหน้าแล้ง
นายไชยยุทธ์ ขุนฤทธิ์แก้ว แก้วจังหวัดกระบี่ กล่าวว่าขณะนี้ภาคใต้ฝั่งอันดามันเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งเกษตรกรหลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาภัยแล้งบ้างแล้ว ซึ่งในหน้าแล้งพื้นดินจะสูญเสียน้ำมากจากการที่มีปริมาณแสงแดดและความเร็วกระแสลมที่เพิ่มขึ้น ทำให้พืชสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นด้วยเพราะมีการคายน้ำมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้พืชตายได้ โดยพืชที่จะได้รับผลกระทบมากในหน้าแล้ง คือ พืชผัก รวมถึงพืชยืนต้นที่ปลูกใหม่
จึงขอแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสวนในหน้าแล้ง ดังนี้
1. ในพืชยืนต้นที่ปลูกใหม่ โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรเพิ่งปลูกในปีที่ผ่านมา ซึ่งระบบรากยังไม่สมบูรณ์และลึกพอที่จะดูดน้ำในระดับลึกได้ ให้คลุมโคนด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ซากวัชพืช ทะลายปาล์มเปล่าที่เหลือใช้จากโรงงาน เพื่อรักษาความชื้นในดิน โดยคลุมห่างจากโคนต้น 5 – 10 เซนติเมตร รัศมีคลุมโคน 1 เมตร หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งจะสามารถรักษาความชื้นในดินได้ระดับหนึ่ง และเมื่อซากวัชพืชสลายตัวก็จะเป็นปุ๋ยต่อไปด้วย
นอกจากนี้ให้ทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟลุกลามในกรณีที่เกิดไฟไหม้จากสวนข้างเคียง โดยการไถ หรือ ขุด ถากเศษวัชพืชออกเป็นแนวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร รอบบริเวณสวน
2. สำหรับพืชผัก หากเกษตรกรจะปลูกต้องมีแหล่งน้ำที่ให้น้ำได้อย่างเพียงพอตลอดอายุพืช เพราะผักเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก สำหรับในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำหรืออยู่นอกเขตชลประทาน ควรหันมาปลูกพืชที่ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด หรือพืชไร่อื่นๆ แทน ซึ่งพืชเหล่านี้จะใช้น้ำน้อย และทนแล้งกว่าพืชผักกินใบ
รูปภาพ : แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสวนในหน้าแล้ง นายไชยยุทธ์ ขุนฤทธิ์แก้ว แก้วจังหวัดกระบี่ กล่าวว่าขณะนี้ภาคใต้ฝั่งอันดามันเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งเกษตรกรหลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาภัยแล้งบ้างแล้ว ซึ่งในหน้าแล้งพื้นดินจะสูญเสียน้ำมากจากการที่มีปริมาณแสงแดดและความเร็วกระแสลมที่เพิ่มขึ้น ทำให้พืชสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นด้วยเพราะมีการคายน้ำมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้พืชตายได้ โดยพืชที่จะได้รับผลกระทบมากในหน้าแล้ง คือ พืชผัก รวมถึงพืชยืนต้นที่ปลูกใหม่ จึงขอแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสวนในหน้าแล้ง ดังนี้ 1. ในพืชยืนต้นที่ปลูกใหม่ โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรเพิ่งปลูกในปีที่ผ่านมา ซึ่งระบบรากยังไม่สมบูรณ์และลึกพอที่จะดูดน้ำในระดับลึกได้ ให้คลุมโคนด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ซากวัชพืช ทะลายปาล์มเปล่าที่เหลือใช้จากโรงงาน เพื่อรักษาความชื้นในดิน โดยคลุมห่างจากโคนต้น 5 – 10 เซนติเมตร รัศมีคลุมโคน 1 เมตร หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งจะสามารถรักษาความชื้นในดินได้ระดับหนึ่ง และเมื่อซากวัชพืชสลายตัวก็จะเป็นปุ๋ยต่อไปด้วย นอกจากนี้ให้ทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟลุกลามในกรณีที่เกิดไฟไหม้จากสวนข้างเคียง โดยการไถ หรือ ขุด ถากเศษวัชพืชออกเป็นแนวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร รอบบริเวณสวน 2. สำหรับพืชผัก หากเกษตรกรจะปลูกต้องมีแหล่งน้ำที่ให้น้ำได้อย่างเพียงพอตลอดอายุพืช เพราะผักเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก สำหรับในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำหรืออยู่นอกเขตชลประทาน ควรหันมาปลูกพืชที่ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด หรือพืชไร่อื่นๆ แทน ซึ่งพืชเหล่านี้จะใช้น้ำน้อย และทนแล้งกว่าพืชผักกินใบ