Guest Relation

Very Krabi

Published on สิงหาคม 14th, 2014 | by Divali

0

” โครงการปลุกข้าววันแม่ ( ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน ) ” ณ.แปลงนาสาธิต หมู่ที่ 1 ตำบลคลองประสงค์ อ. เมือง จ.กระบี่

” โครงการปลุกข้าววันแม่ ( ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน ) “
ณ.แปลงนาสาธิต หมู่ที่ 1 ตำบลคลองประสงค์ อ. เมือง จ.กระบี่

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษาในวันที่ 12 สิงหาคม 2557 นับเป็นโอกาสมหามงคลพิเศษที่จะได้แสดงความกตัญญู กตเวที น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดีถวายเป็นราชสักการะ แด่พระองค์

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ ได้จัดกิจกรรม ตามแนวหอการค้าไทย ที่มีนโยบายให้หอการค้า ทุกจังหวัด ได้ช่วยเหลือเกษตรกร มีรายได้ เพียงพอตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวง มาเป็นเวลา 3 ปี ที่สร้างความเข้าใจในการจัดสรรพื้นที่ 1 ไร่ ให้มีรายได้ 1 แสน

นอกจากการทำนาแล้ว ยังมีการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และปลูกพืชสวนครัว บริเวณคันนา เพื่อการบริโภค ส่วนที่เหลือก็นำไปขาย ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น

ที่มาของโครงการ
๑ ไร่ ๑ แสน

ในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนั้น ” เกษตรกรรม” คือรากเหง้าและจิตวิญญาณของคนไทยมาช้านาน แม้ว่าจะผ่านกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม แต่ ” เกษตรกรรม” ก็ยังเป็นพื้นฐานและเป็นหัวใจในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเสมอมา แม้ว่าบทบาทของเกษตรกรรมจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แต่กลุ่มคนที่อยู่ในภาคการเกษตรกลับประสบกับปัญหานานัปการโดยเฉพาะด้านรายได้ ซึ่งวิ่งสวนทางกับการเติบโตของประเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้ช่องว่างระหว่างเม็ดเงินของคนเมืองกับคนชนบทเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่รู้จบ ในที่สุด ความรู้สึก ” ไม่เท่าเทียม” ก็เกิดขึ้น และเป็นปัญหาซ้ำซากที่ยากจะเยียวยา จนนำไปสู่ความขัดแย้งในทุกภาคส่วนของสังคม

หอการค้าไทย ตระหนักอยู่เสมอว่า การจะพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนได้นั้นจำเป็นต้องลดช่องว่างดังกล่าว ดังนั้น มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยภาคเอกชนจึงเกิดขึ้น ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ โดยมุ่งหวังในการขยับฐานรายได้ในภาคการเกษตรและแรงงานให้สูงขึ้น

โครงการ 1 ไร่ 1 แสน เป็นการผนึกกำลังร่วมกันของเครือข่ายหอการค้า โดยคุณดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้มอบหมายให้ คุณอดิศร พวงชมภู อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครปฐม ผู้ที่คลุกคลีและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของภาคการเกษตรในหลาย ๆ พื้นที่ เป็นประธานโครงการ และ ผศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นหัวหน้าทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเชิงวิชาการ เพื่อยืนยันความสำเร็จของโครงการบนแนวคิดที่ว่า

” ทำนา ๑ ไร่ ให้ได้รายได้ ๑ แสนบาท”

แนวคิดในการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ โดยเน้นให้เกษตร พึ่งพาตนเองเป็นหลัก และใช้ทรัพยากรการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชร์สูงสุด ส่งเสริมการผสมผสาน (Integrated Farming) ด้วยระบบอินทรีย์การเกษตร เพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ดั้งเดิม โดยมีหลักการที่สำคัญ คือการสร้างต้นแบบการ ทดลองการปฎิบัติในเชิงประจักษ์จากกลุ่มเครือข่ายผู้นำ เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ อาทิ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อุบลราชธานี เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีตำบลบ้านดง ฯลฯ เป็นแกนนำ เพื่อจัดทำเป็นคู่มือการเรียนรู้ในการทำนาที่จะใช้เป็นตำราให้เกษตรกรที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการฯ ในที่อื่น ๆ ต่อไป

ข้อมูล : หอการค้าไทย

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑