Guest Relation

Flowers

Published on เมษายน 2nd, 2014 | by Divali

0

โกงกางใบเล็ก

88ชื่อ โกงกางใบเล็ก99
ชื่อวิยาศาสตร์ Rhizophora apiculata Blume
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่อเรียกอื่น โกงกาง พังกาใบเล็ก พังกาทราย
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕ – ๓๕ เมตร มีรากเสริมหรือรากค้ำยันลำต้น เปลือก แตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง ๔ – ๘ ซม. ยาว ๗ – ๑๘ ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีออกแดงหรือชมพูอมแดง แผ่นใบหนา ก้านใบยาว ๑.๕ – ๓.๕ ซม. มักมีสีออกแดง หูใบแคบ ปลายแหลมยาว เห็นชัดที่ปลายกิ่ง สีชมพู ร่วงง่าย ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกตูมรูปไข่ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปไข่ กว้าง ๐.๖ – ๐.๘ ซม. ยาว ๐.๗ – ๑.๒ ซม.กลีบหนา ปลายแหลม กลีบดอก ๔ กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอก กว้าง ๐.๑ – ๐.๒ ซม. ยาว ๐.๗ – ๑.๒ ซม. สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ ๑๒ อัน ผลคล้ายรูปไข่กลับ ยาว ๒ – ๓ ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว ๓๐ – ๔๐ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ – ๑.๒ ซม.
การกระจายพันธุ์ พบตามฝั่งทะเลศรีลังกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงภาคเหนือของออสเตรเลีย
ประโยชน์ ลำต้น ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล ทำถ่าน เปลือกให้น้ำฝาดประเภท catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง น้ำจากเปลือก ใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด

แหล่งข้อมูล หนังสือพรรณไม้ในป่าชายเลน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2549.

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑