Guest Relation

NEWS

Published on สิงหาคม 26th, 2014 | by Divali

0

แนวโน้มการสูบบุหรี่ของคนไทยใน 15 ปีข้างหน้า ลดลงช้ากว่าเป้าหมาย

ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยการสำรวจสถานการณ์ การบริโภค ยาสูบของคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2534 – 2554) พบว่าอัตราการสูบ ลดลงจากร้อยละ 32.0 เหลือร้อยละ 21.4 โดยจำนวนผู้สูบบุหรี่รวมลดลงจาก 12.26 ล้านคน เป็น  11.51 ล้านคน แต่ในรอบ 5 ปีสุดท้าย (พ.ศ.2549 – 2554) ผลการสำรวจกลับพบการเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าช่วงแรก โดยลดจากร้อยละ 21.9 ในปี 2549  เป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2554

ดร.ศรัณญา ได้พยากรณ์อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2568 พบว่าตามแนวโน้มที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป  จะลดลงเฉลี่ยปีละ 0.23% โดยลดลงจากร้อยละ 20.3 เป็นร้อยละ 17.5 และจะมีผู้สูบบุหรี่เท่ากับ 10.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2568  ซึ่งลดลงน้อยกว่าเป้าหมายของมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่ตั้งเป้าหมายระดับโลก (Global target)  ไว้ว่าแต่ละประเทศควรลดการสูบบุหรี่ลง ให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ นั่นหมายความว่า นับตั้งแต่ปี 2554 ไปอีก 15 ปีข้างหน้า อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ควรจะลดลงเหลือร้อยละ 15 (แทนที่จะเป็นร้อยละ 17.5)  หากประเทศไทยต้องลดอัตราการสูบบุหรี่ให้เหลือร้อยละ 15 เราจะต้องทำให้อัตราการสูบบุหรี่ลดลง 0.44% ต่อปี (แทนที่จะเป็น 0.23%) ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดเหลือ 9.0 ล้านคน

ดังนั้น ทิศทางการดำเนินงานควบคุมยาสูบเพื่อบรรลุเป้าหมายระดับโลกในช่วงเวลา 11 ปีต่อจากนี้ นอก เหนือจากการดำเนินงานควบคุมยาสูบให้ครอบคลุมตามกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) โดยเฉพาะมาตรการทางภาษีและกฎหมายเพื่อควบคุมการตลาดของบริษัทบุหรี่แล้ว  ยังควรเร่งรัดและมุ่งสกัดกั้นการเข้ามาเป็นนักสูบหน้าใหม่ของเด็กและเยาวชน อีกทั้งเร่งรัดให้ผู้เสพติดบุหรี่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการเลิกบุหรี่เชิงรุก   รวมทั้งทำให้การรักษาการเลิกบุหรี่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของการรักษาพยาบาล

ศ.นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิจ  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ขององค์การ อนามัยโลกและธนาคารโลก  จำนวนผู้สูบบุหรี่ จำนวนบุหรี่ที่สูบและความต้องการใบยาสูบจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก  อันเป็นผลจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้น้อย และปานกลาง  ในขณะที่อัตราการสูบบุหรี่

ข้อมูล :  มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

 

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑