เล็บมือนาง
หมวด: พรรณไม้ป่าชายเลน
เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegiceras corniculatum (L.) Blanco
วงศ์ : MYRSINACEAE
ชื่ออื่น : เล็บนาง (สตูล); แสมแดง (ชุมพร); แสมแดง (ปัตตานี); ลำพู (ตราด)
เป็นไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 3-7 เมตร แตกกิ่งในระดับต่ำใกล้โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย เปลือกเรียบ สีเทาเข้ม กึ่งสีน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง รูปรีถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2.5-5 X 4-9 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ถึงเว้าตื้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม แผ่นใบเกลื้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน เส้นกลางใบด้านท้องใบสีแดงเด่นขัด ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร
ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นช่อแบบช่อชี่ร่ม แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อยเรียวยาว 1-2 เซนติเมตร กลีบเลื้ยง 5 กลีบ ไม่ติดกัน และติดคงทน กลีบดอก 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม สีขาว โคนกลีบติดกันอยู่ในหลอดซึ่งยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งกลับไปทางฐานดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฦษภาคม
ผล รูปทรงกระบอกเรียวโค้ง ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งแหลมยาว ผิวเีรียบผลอ่อนสีเขียว เมี่อแก่เป็นสีเขียวอมน้ำตาล เมล็ดเป็นแบบงอกดั้งแด่ผลยังติดอยู่บนต้น ผลแก่ประมาณเดือนกันยายน-พฤศจิกายน
พบขึ้นกระจาย หรือเป็นกลุ่มตามริมชายฝั่งแม่น้ำบริเวณที่เป็นดินทรายและน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ
เล็บมือนาง