Guest Relation

Local news

Published on มิถุนายน 19th, 2014 | by Divali

0

เรื่อง “ทางออกพลังงาน ตามวิสัยทัศน์ ” KRABI GOES GREEN ”

แถลงการณ์ ภาคีภาคเอกชน

เรื่อง “ทางออกพลังงาน ตามวิสัยทัศน์ ” KRABI GOES GREEN ”

ภาคการท่องเที่ยว ของประเทศไทยถือเป็นภาคที่มีความสาคัญในการนารายได้เข้าสู่ประเทศ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีรายได้ 8.31แสนล้านบาท (ที่มา: สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก:PATA,2556) และรายได้นั้นยังช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีรากฐานที่มั่นคง

เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่เน้นการใช้แรงงาน(Labor Intensive)ทำให้ช่วยกระตุ้นการจ้างงาน และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งรายได้จากการท่องเที่ยวยังเป็นประโยชน์กับประเทศได้มากกว่า เหตุจากหมุนเวียนอยู่ภายในประเทศได้มากกว่า ภาคการผลิตอื่นที่มีการนาเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ หรือ เป็นการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ

นอกจากนั้นธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ถือเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีสัดส่วนประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดของประเทศ ดังจะเห็นได้จาก การท่องเที่ยวไทยสร้างมูลค่าเพิ่มเกือบ 1.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 13% ของ GDP และมีประชากรอย่างน้อย 1.2 ล้านคน มีชีวิตความเป็นอยู่พึ่งพิงอยู่กับการท่องเที่ยวโดยตรง อาทิเช่น ภูเก็ตพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 50%(ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์,วิธาน เจริญผล 2553)

นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยแล้ว พบว่า มีเพียงภาคการท่องเที่ยว และภาคเกษตรกรรมเท่านั้น ที่ประเทศไทยยังได้เปรียบในระดับสูงอยู่ ด้วยวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ และสภาพดินฟ้าอากาศ

จังหวัดกระบี่มีภาคการท่องเที่ยวที่ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสาคัญอย่างมาก โดยมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยว 48,270.57 ล้านบาท(ที่มา:กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา,2012) ถึงแม้ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจหลัก แต่จากการจัดเก็บภาษีของสรรพากร พบว่ารายได้จากธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด นอกจากนั้น เกาะพีพีดอน และเกาะลันตา ของจังหวัดกระบี่ ก็ติดอยู่ในหาดยอดนิยมของเอเชียอันดับที่ 2 และ 3 ตามลาดับ (ที่มา: Trip Advisor / Travelers’ choice 2012 “Beach Destination in Asia”)

ตามแนวคิดและวิสัยทัศน์ที่ ทางภาคเอกชนของจังหวัดกระบี่ เห็นร่วมกันกับภาครัฐ นาไปสู่การกาหนด การกาหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ต่างๆ อาทิ

“การท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพระดับโลก บนฐานความเข้มแข็งของภาคเกษตรและชุมชน”(ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พ.ศ. 2558-2561) ” เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน สังคมน่าอยู่ “(วิสัยทัศน์จังหวัดกระบี่) “Q-city”(เทศบาลเมืองกระบี่)

นอกจากนั้น ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามและเป็นภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และ พิธีสารโตเกียวร่วมรับผิดชอบการดาเนินการด้านการเปลี่ยนสภาพอากาศ

ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องคานึงถึงการท่องเที่ยวที่สะอาด (Green Tourism)(ที่มา:แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559)

และเหนืออื่นใด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2556 ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมลงนาม “ปฏิญญา การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ สู่ความยั่งยืน” โดย ปฏิญญาข้อที่ ๕ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวที่เอื้อต่อการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงคุณภาพระดับนานาชาติ หมวดที่(๕.๒) “ทุกภาคส่วนต้องไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดมลภาวะ และทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”

จากข้างต้น จังหวัดกระบี่ถือได้ว่า มีจุดเด่นหลายด้านที่รองรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจุดขายของจังหวัด ที่เน้นการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่สาคัญที่สุด ขอเพียงรักษาและทำนุบำรุงฟื้นฟูสิ่งที่มีอยู่ รวมทั้งไม่คิดหรือทำโครงการใดๆที่จะทาลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ก็จะยังสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในจังหวัดกระบี่ รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงได้สืบไป

การดำเนินงานต่างๆในภาคเอกชนที่สะท้อนถึง การไปสู่ Krabi Goes Green ได้แก่

โรงงานสกัดน้ามันปาล์มดิบเป็น Zero Waste Industry
การผลิตไฟฟ้าด้วยBio Gas
การเปลี่ยนหลอดLEDในอุตสาหกรรมโรงแรมและค้าส่งค้าปลีก โครงการกระบี่ปลอดโฟม โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันเหลือใช้จากการผลิตอาหาร โครงการปั่นจักรยานลดโลกร้อน เป็นต้น

ฉะนั้น ภาคีภาคเอกชนของจังหวัดกระบี่ ขอประกาศว่า

ภาคีฯไม่สนับสนุนการใช้แหล่งวัตถุดิบเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน ที่ก่อให้เกิดมลพิษหรือเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมใดๆ อาทิ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน เป็นต้น โดยภาคีฯ ขอสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน ดังนี้

1). พลังงานทางเลือก ต้องเป็นพลังงานที่ได้จากวัตถุดิบในภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ปาล์มน้ามัน เป็นต้น และวัตถุดิบที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตต่างๆ อาทิ แก๊สชีวภาพ เศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตน้ามันปาล์มดิบ การแปรรูปไม้ยางพารา เป็นต้น

2). พลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการผลิตไฟฟ้า อาทิ พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากคลื่นหรือน้ำขึ้น-น้ำลง

ทั้งนี้ ภาคีภาคเอกชนจังหวัดกระบี่ ขอเสนอให้ภาครัฐมีมาตรการเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดอย่างจริงจัง โดยดาเนินมาตรการต่างๆควบคู่กัน อาทิ

– ยกเลิกภาษีนาเข้าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า อาทิ อุปกรณ์และแผงโซลาร์เซลล์ เครื่องกาเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เป็นต้น

– เปิดเสรีให้ที่อยู่อาศัย ตลอดจนภาคธุรกิจสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด

– ใช้มาตรการทางภาษีที่เข้มข้น เพื่อกระตุ้นภาคประชาชนและภาคธุรกิจให้เปลี่ยนมาใช้ หลอดLED การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์หรือลม อาทิ ยกเลิกภาษีนิติบุคคล อย่างน้อย 1 ปี

– มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่า หรือปลอดดอกเบี้ย โดยให้ผ่อนชาระคืนไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แก่ภาคธุรกิจที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องจักรหรือซื้ออุปกรณ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

– มาตรการกาหนดให้ สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารใดๆที่ขออนุญาตก่อสร้างใหม่ ต้องลดการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารเดิม ควรลดการใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์

– ยกเลิกการกาหนดโควต้าการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนและภาคประชาชน

– ตั้งหลักเกณฑ์ให้โรงงานหรืออุตสาหกรรมที่มีวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตและสามารถนามาผลิตไฟฟ้าได้ ต้องผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อขายให้กับรัฐหรือชุมชนโดยรอบ

– ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ทางด้านพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก และพลังงานสะอาด และตั้งเป้าที่จะนาไปใช้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี

– ยกเลิกแผน PDP(Power Development Plan)ปัจจุบัน ที่มีการกาหนดสัดส่วนแหล่งพลังงานจากถ่านหิน และแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ได้มีการศึกษาและกาหนดพื้นที่ตั้ง 5 แห่งในประเทศไทย ประกอบด้วย

1.อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
2.อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
3.อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
4.อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 5.อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

(ที่มา: มติชนรายวัน,24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552, ปีที่ 32, ฉบับที่ 11581) และกาหนดให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จานวน 2 โรง รวมกาลังผลิตติดตั้ง 2,000 เมกะวัตต์ ให้พร้อมผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในปี2563 – 2564

(ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=553730) โดยกำหนดแผนPDPใหม่ ที่กาหนดให้มีสัดส่วนจากพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด ไม่น้อยกว่า 30-50 เปอร์เซ็นต์

ภาคีภาคเอกชน ของจังหวัดกระบี่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคประชาชน และภาคเอกชน จะตระหนักถึงความสาคัญของปัญหาและทิศทางของประเทศไทยในอนาคตอย่างจริงจัง โดยปราศจากทิฐิ และอคติใดๆ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในระยะยาวอย่างยั่งยืน

แทนที่จะพิจารณาเพียงต้นทุนทางเศรษฐกิจในระยะสั้น และละเลยต้นทุนอื่นในระยะยาว ได้แก่ ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นทุนค่าเสียโอกาสในอนาคต

ภาคีภาคเอกชน

ข้อมูล : จากการแถลงข่าว : Krabi Goes Green ….วันที่ 18 มิถุนายน 2557 ณ. โรงแรม พีชลากูน่า รีสอร์ต…


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑