Guest Relation

NEWS

Published on พฤศจิกายน 22nd, 2013 | by Divali

0

เผยผลงานวิจัยการเลี้ยงลูกด้วย

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เผยผลงานวิจัยการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่เชิงเศรษฐกิจ หลังพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือน ช่วยให้แต่ละครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 7 พันบาทต่อปี วอนภาครัฐและประชาสังคมเร่งขยายสิทธิลาคลอดในทางปฏิบัติให้ครบ 90 วัน อย่างเป็นจริง เพื่อสร้างเด็กไทยรุ่นใหม่ให้เติบโตขึ้นอย่างมีไอคิวและอีคิวสูง

นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข เปิด เผยว่า ปัจจุบันสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา ข้อมูลความเกี่ยวข้องของประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ ในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ให้กับ ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าผลการวิจัยจะดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในต้นปี 2557

“จากการจัดเก็บข้อมูลในกลุ่มหญิงหลังคลอดจำนวน 830 ราย ใน 5 จังหวัด พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน ช่วยให้ ครัวเรือนประหยัดค่าใช้จ่าย 6,616.24 บาท หรือราว 1,100 บาทต่อเดือน และเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในภาพรวม ของประเทศ ซึ่งตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2555 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ 7.6 แสนคนต่อปี มีร้อยละ 71 ของเด็กทารกเกิดใหม่ได้รับนมแม่ อย่างเดียวเป็นระยะเวลา 3 เดือน และร้อยละ 38 ของ ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน ซึ่งเท่ากับว่า ครัวเรือนไทยจะสามารถประหยัดรายจ่ายได้มากกว่า 1.8 พันล้านบาทต่อปี หากมีการสนับสนุนให้เด็กทุกคน ยกเว้นมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน”

นอกจากนี้การศึกษาดังกล่าวยังพบข้อสังเกตว่า แม้หญิงไทยหลังคลอดส่วนใหญ่จะเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ และถึงจะมี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2521 ที่กำหนดสิทธิ์การลาคลอดไว้ถึง 90 วัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วมารดาจะใช้สิทธิ์ลาคลอดน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าว เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและความจำเป็นด้านการทำงาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยได้ผลักภาระให้แม่และครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งที่ประโยชน์จากการกิน นมแม่ไม่ได้เกิดเฉพาะกับเด็กและครอบครัว แต่สังคมและประเทศชาติก็จะได้รับประโยชน์จากการมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ รวมถึงยังช่วยลดภาระทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และรายจ่ายของครัวเรือน ที่ลดลงจากการที่เด็กได้รับนมแม่อีกด้วย

ฉะนั้น ทุกภาคส่วนในสังคมไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ควรร่วมสนับสนุนให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสม ผ่านการส่งเสริมมุมนมแม่ในสถานที่ทำงาน ให้แม่ทำงานสามารถเก็บน้ำนมกลับไปให้ลูกที่บ้านได้ รวมถึงการขยายระยะเวลาลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 180 วัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2554 ที่พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้สหรัฐ ประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุขที่ต้อง ใช้เพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วยของเด็กในแต่ละปี ได้ถึง 1.1 แสนล้านบาท ลดความสูญเสียจาก การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเด็กที่คิดเป็นมูลค่ากว่า 30.3 พันล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้อนมผง 1.17 แสนล้านบาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้าน อาหารเสริมสำหรับแม่หลังคลอด 4.8-6.3 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

“ดังนั้น การกินนมแม่นอกจากช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทำให้เด็กมีสุขภาพดี มีการเจ็บป่วยน้อยลงซึ่งจะส่งผลจนถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว ยังทำให้เด็กเติบโตมีไอคิวและอีคิวสูง ประเทศชาติจะได้ประโยชน์จากการมีประชากรที่มีสติปัญญาดี และสุขภาพแข็งแรง” นพ.ภูษิต กล่าวสรุป

ภาพและข่าว : สช Online

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑