Guest Relation

Local news

Published on ตุลาคม 16th, 2014 | by Divali

0

เกาะศรีบอยา… พื้นที่ ปฏิบัติการปล่อยหอยชักตีน 45000 ตัว

พื้นที่ ปฏิบัติการปล่อยหอยชักตีน 45000 ตัว ลงในพื้นที่ บริเวณหลังเกาะ แหล่ง ที่มีหอยชักตีน ตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งที่ปล่อยหอยที่เพาะพันธุ์ สู่ ทะเลรอการเจริญเติบโต เพื่อเป็น อาหาร ที่ เป็น ที่รู้จักของผุ้มาเยือนกระบี่ ลูกหอย ขนาด 2 เซนติเมตร ที่ปล่อยลง สุ่ทะเลสามารถปรับตัวและมีชีวิตอยุ่รอดได้ ในธรรมชาติ…

หอยชักตีน มีช่วงวางไข่ สูงสุด 2 ช่วง คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม และช่วงเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน และสามาารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ขนาด 4 – 5 ซม.เป็นช่วงที่หอยเริ่มมีไข่ การจับหอยขนาดนี้ เป็นการทำลายการกระจายพันธุ์ ของหอย จึงได้มีโครงการรณรงค์ ไม่เก็บ ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่กิน หอยชักตีน ในขนาดที่ไม่เหมาะสม

การทำงานร่วมกันในชุมชน ของ กฟผ และหน่วยงานต่างๆ เพื่อรณรงค์ ไม่เก็บ ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่กิน หอยชักตีน ในขนาดที่ไม่เหมาะสม ต้องสร้างความเข้าใจกับชุมชน ความร่วมมือ ในการเพิ่มจำนวนหอยให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และทำให้มีรายได้ อย่างยั่งยืน

หอยชักตีน Dog Conch
หอยชักตีน (อังกฤษ : Dog Conch, Wing Shell; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Laevistrombus canarium) เป็นชื่อของหอยทะเลชนิดฝาเดียวเปลือกบางชนิดหนึ่ง โดยมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ขนาดเล็ก บางทีจึงเรียกว่า หอยสังข์ตีนเดียว เป็นหอยฝาเดียวที่จัดอยู่ในวงศ์หอยชักตีน (Strombidae) พบแพร่กระจายทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไปทางตะวันตกสุดถึงเมลานีเซีย เหนือสุดถึงประเทศญี่ปุ่น และใต้สุดถึงควีนสแลนด์และนิวคาลีโดเนีย พบอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทรายปนโคลน และบริเวณหญ้าทะเลและสาหร่าย ตั้งแต่เขตน้ำขึ้น-ลง ไปจนถึงในระดับความลึกถึงประมาณ 55 เมตร มีการเก็บมาใช้บริโภค

เป็นอาหารในหลายประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมีการนำเปลือกมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานหัตถกรรมเครื่องใช้และของประดับตกแต่งต่างๆ ขนาดใหญ่สุดมีความยาวเปลือก 10 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปมักพบขนาดประมาณ 6-7 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบหอยชักตีนได้ทั่วไปทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ถือเป็นหอยฝาเดียวชนิดที่พบมาก สามารถพบเปลือกตามชายฝั่งทะเลทั่วไป แต่มีเพียงบางแหล่งที่มีการเก็บหอยชักตีนขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่นแถบจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระยอง ชุมพร เป็นต้น
ซึ่งโดยทั่วไปการเก็บหอยชักตีนจะใช้วิธีงม หรือเดินเก็บในเวลาน้ำลงในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถพบหอยชักตีนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของทุกอำเภอ และปัจจุบันยังคงมีอยู่ สังเกตได้จากที่สามารถพบเปลือกหอยใหม่ๆ ตามชายหาดทั่วไป แต่ไม่มีแหล่งที่ทำการประมงเก็บหอยชักตีนจากธรรมชาติมาบริโภคแพร่หลายเช่นในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน และไม่มีการศึกษาสำรวจอย่างจริงจัง จึงไม่ทราบสภาวะทรัพยากรหอยชักตีนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน

หอยชักตีนเป็นหอยที่ขูดกินสาหร่ายและซากอินทรียสารต่างๆ เป็นอาหาร การสืบพันธุ์เป็นแบบผสมภายใน โดยมีเพศผู้ เพศเมียแยกกัน จับคู่ผสมพันธุ์กัน หลังจากนั้นจะวางไข่มีวุ้นหุ้มลักษณะเป็นสายยาวสีขาว ขดเป็นกระจุกคล้ายเส้นหมี่ ไข่จะพัฒนาใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 วัน จึงฟักออกเป็นตัวลูกหอย ซึ่งจะดำรงชีวิตว่ายน้ำ กรองกินแพลงก์ตอนพืชเล็กๆ เป็นอาหารอยู่ประมาณ 11-14 วัน จึงพัฒนาเข้าสู่ระยะลงพื้น เปลี่ยนการดำรงชีวิตเป็นขูดกินตะไคร่สาหร่ายหรืออินทรียสารต่างๆ ลูกหอยที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะเติบโตได้ขนาดความยาวเปลือก 0.5-1 เซนติเมตร ภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน

หอยชักตีนมักจะชอบอาศัยอยู่ตรงบริเวณชายหาดโคลนผสมกับทราย สามารถนำมารับประทานได้ เป็นหอยขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑