Guest Relation

Very Krabi

Published on ธันวาคม 6th, 2013 | by Divali

0

หอยชักตีน…วิถีแห่งประมงพื้นบ้าน

หอยชักตีน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
(unranked): clade Caenogastropoda
clade Hypsogastropoda
clade Littorinimorpha
วงศ์ใหญ่: Stromboidea
วงศ์: Strombidae
สกุล: Laevistrombus
ชนิด: L. canarium
ชื่อทวินาม
Laevistrombus canarium
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

Strombus canarium Linnaeus, 1758 (basionym)
Strombus taeniatus Quoy & Gaimard, 1834
Strombus vanikorensis Quoy & Gaimard, 1834
Strombus gibbus Issel & Canefri, 1876
Strombus vanicorensis Quoy, 1885

หอยชักตีน (อังกฤษ : Dog Conch, Wing Shell; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Laevistrombus canarium) เป็นชื่อของหอยทะเลชนิดฝาเดียวเปลือกบางชนิดหนึ่ง โดยมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ขนาดเล็ก บางทีจึงเรียกว่า หอยสังข์ตีนเดียว
ลักษณะและการกระจายพันธุ์

เป็นหอยฝาเดียวที่จัดอยู่ในวงศ์หอยชักตีน (Strombidae) พบแพร่กระจายทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไปทางตะวันตกสุดถึงเมลานีเซีย เหนือสุดถึงประเทศญี่ปุ่น และใต้สุดถึงควีนสแลนด์และนิวคาลีโดเนีย พบอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทรายปนโคลน และบริเวณหญ้าทะเลและสาหร่าย ตั้งแต่เขตน้ำขึ้น-ลง ไปจนถึงในระดับความลึกถึงประมาณ 55 เมตร มีการเก็บมาใช้บริโภคเป็นอาหารในหลายประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมีการนำเปลือกมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานหัตถกรรมเครื่องใช้และของประดับตกแต่งต่างๆ ขนาดใหญ่สุดมีความยาวเปลือก 10 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปมักพบขนาดประมาณ 6-7 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบหอยชักตีนได้ทั่วไปทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ถือเป็นหอยฝาเดียวชนิดที่พบมาก สามารถพบเปลือกตามชายฝั่งทะเลทั่วไป แต่มีเพียงบางแหล่งที่มีการเก็บหอยชักตีนขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่นแถบจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระยอง ชุมพร เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปการเก็บหอยชักตีนจะใช้วิธีงม หรือเดินเก็บในเวลาน้ำลงในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถพบหอยชักตีนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของทุกอำเภอ และปัจจุบันยังคงมีอยู่ สังเกตได้จากที่สามารถพบเปลือกหอยใหม่ๆ ตามชายหาดทั่วไป แต่ไม่มีแหล่งที่ทำการประมงเก็บหอยชักตีนจากธรรมชาติมาบริโภคแพร่หลายเช่นในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน และไม่มีการศึกษาสำรวจอย่างจริงจัง จึงไม่ทราบสภาวะทรัพยากรหอยชักตีนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
ชีววิทยาทั่วไป

หอยชักตีนเป็นหอยที่ขูดกินสาหร่ายและซากอินทรียสารต่างๆ เป็นอาหาร การสืบพันธุ์เป็นแบบผสมภายใน โดยมีเพศผู้ เพศเมียแยกกัน จับคู่ผสมพันธุ์กัน หลังจากนั้นจะวางไข่มีวุ้นหุ้มลักษณะเป็นสายยาวสีขาว ขดเป็นกระจุกคล้ายเส้นหมี่ ไข่จะพัฒนาใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 วัน จึงฟักออกเป็นตัวลูกหอย ซึ่งจะดำรงชีวิตว่ายน้ำ กรองกินแพลงก์ตอนพืชเล็กๆ เป็นอาหารอยู่ประมาณ 11-14 วัน จึงพัฒนาเข้าสู่ระยะลงพื้น เปลี่ยนการดำรงชีวิตเป็นขูดกินตะไคร่สาหร่ายหรืออินทรียสารต่างๆ ลูกหอยที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะเติบโตได้ขนาดความยาวเปลือก 0.5-1 เซนติเมตร ภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน

หอยชักตีนมักจะชอบอาศัยอยู่ตรงบริเวณชายหาดโคลนผสมกับทราย สามารถนำมารับประทานได้ เป็นหอยขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่

ข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Please follow and like us:
Pin Share

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑

RSS
Follow by Email