Guest Relation

NEWS

Published on ธันวาคม 1st, 2014 | by Divali

0

พระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494

พ.ศ.2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 กฎหมายมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2557

• กลุ่มบุคคลผู้มีสิทธิ Undo
1.ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และเป็นสมาชิก กบข. โดยสมัครใจ
2.ข้าราชการซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และลาออกจากราชการเนื่องจากได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2558
3.ข้าราชการซึ่งเคยเป็นข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 ซึ่งลาออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 โดยต้องกลับเข้ารับราชการไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2558
4.ข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 ซึ่งเป็นสมาชิก กบข.โดยสมัครใจและมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.ข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540ซึ่งเป็นสมาชิก กบข.โดยสมัครใจและมีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
6.ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นบุคคล ตาม 2-5

• ข้าราชการที่เป็นสมาชิกโดยสมัครใจ
1.ให้ยื่นแบบ แบบ ข.1 ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
2.มีสืทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทน จาก กบข. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 เป็นต้นไป
3.ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว
4.สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2558
5.หากต้องออกจากราชการก่อนวันที่ 30 มิ.ย.58 ให้สิทธิแสดงความประสงค์ได้ถึงวันก่อนวันออกจากราชการ 6.หากยื่นแล้ว ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ต.ค.58 หรือก่อนวันที่ออกจากราชการให้ถือว่าการ สิ้นสุดลง
7.มีสิทธิได้รับบำนาญตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 จนถึงวันเสียชีวิต

• ผู้รับบำนาญที่เคยเป็นสมาชิก กบข. โดยสมัครใจ
1.ให้ยื่นแบบ Undo ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
2.ได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนจาก เงินสะสม
3.ต้องคืนเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่ กบข.คำนวณให้ในวันปิดบัญชีเงินรายบุคคลของผู้รับบำนาญนั้นให้รัฐ โดยหักกลบลบกันกับส่วนเพิ่ม(ส่วนต่างบำนาญสูตรเดิมกับสูตร กบข.ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ออกจากราชการ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558
4.เมื่อหักกลบลบกันกับส่วนเพิ่มบำนาญแล้ว
-หากมีส่วนต่างต้องชำระคืนให้รัฐ ให้ชำระคืนภายใน วันที่ 30 มิถุนายน 2558 หรือแบ่งชำระเงินออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2558 ก็ได้ หากไม่คืนภายในกำหนดเวลา การแสดงความประสงค์ Undo เป็นอันสิ้นผลลง
-หากมีส่วนต่างที่รัฐต้องจ่ายคืนให้ จะจ่ายคืนให้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
5.จะได้รับบำนาญตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนถึงวันเสียชีวิต
6.หากยื่นแล้ว ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ต.ค.58 ให้ถือว่าการ Undo สิ้นสุดลง หากได้คืนเงินส่วนต่างที่ต้องชำระให้แก่รัฐแล้ว รัฐจะคืนเงินดังกล่าวให้ทายาทต่อไป

ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดที่เป็นสมาชิก กบข.โดยสมัครใจ
1.ให้ยื่นแบบ Undo ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
2.ต้องคืนเงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว ให้แก่ส่วนราชการผู้เบิกฯภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558
3.กรณีออกจากกองหนุนมีเบี้ยหวัดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ให้ใช้สิทธิ Undo ได้ถึงวันก่อนวันออกจากกองหนุนมีเบี้ยหวัด
4.ถ้าไม่คืนเงินภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าการ Undo เป็นอันสิ้นผล
5.หากยื่นแล้ว ถึงแก่ความตายก่อนวันออกจากกองหนุนมีเบี้ยหวัดให้ถือว่าการ Undo สิ้นสุดลง

**สิ่งที่ผู้มีสิทธิ Undo ต้องทำก่อนตัดสินใจ***
***กรณีเป็นข้าราชการ***

1. เช็คยอดเงิน กบข ที่ GPF web service
2. เช็คเงินบำนาญสูตร 2494 และสูตร กบข. ใน เว็บไซต์ www.undo.in.th
3. เปรียบเทียบข้อมูล ( เงิน กบข. และส่วนต่างตามสูตร พรบ.บำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ พ.ศ. 2494 กับ สูตร กบข.)
1. ก่อนตัดสินใจ ควรทราบว่าจะได้บำนาญเพิ่มเท่าใดและประมาณการเงินที่จะได้รับจาก กบข. เป็นเท่าใด
2. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อส่วนต่างของบำนาญ 2 สูตรคือ อายุราชการ และอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
3. สามารถเปรียบเทียบระยะเวลารอคอยได้ โดยนำเอาส่วนต่างบำนาญที่ได้รับในแต่ละเดือนไปหารกับเงินก้อนในส่วนที่รัฐสมทบให้จนถึงวันออกจากราชการ
4. หากระยะเวลารอคอยนาน มีแนวโน้มว่าเป็นสมาชิก กบข. ต่อไปจะเป็นทางเลือกที่ดี ในทางกลับกันหากระยะเวลารอคอยสั้น การกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพ.ร.บ. 2494 อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
5. แต่ต้องคำนึงถึง % ที่เพิ่มขึ้นของบำเหน็จตกทอด 30 เท่า และเงินช่วยคำศพ 3 เท่า ที่เพิ่มขึ้นเมื่อได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น
6. ผู้ประสงค์ใช้สิทธิกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพ.ร.บ. 2494 ควรตัดสินใจภายใต้ข้อมูลของตัวเองอย่างครบถ้วนก่อนการตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ควรตัดสินใจภายใต้คำแนะนำหรือการชี้นำของผู้อื่น

***กรณีเป็นผู้รับบำนาญ***
ต้องคำนวณ “หัก กลบ ลบ กัน” ระหว่างเงินรัฐที่รับไปแล้ว และต้องคืนรัฐ (เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์)กับบำนาญส่วนต่าง ที่รัฐต้องคืนให้(คำนวณจากวันเกษียณ – 30 กันยายน 2558)

สามารถเข้าไปคำนวณบำนาญส่วนต่างต่อเดือน และบำนาญส่วนต่างรวม ได้ที่เว็บไซด์ www.undo.in.th
• สถานที่ยื่นแบบแสดงความประสงค์
• ข้าราชการ แสดงความประสงค์ได้ที่ ส่วนราชการที่ปฏิบัติงานอยู่
• ผู้รับบำนาญ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด แสดงความประสงค์ได้ที่ ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ
• ข้าราชการส่วนท้องถิ่น แสดงความประสงค์ได้ที่ ส่วนราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานอยู่
• ผู้รับบำนาญส่วนท้องถิ่น แสดงความประสงค์ได้ที่ ส่วนราชการท้องถิ่นผู้เบิกบำนาญ
• พนักงานมหาวิทยาลัย แสดงความประสงค์ได้ที่ มหาวิทยาลัยของรัฐที่ปฏิบัติงานอยู่

ผู้ประสงค์จะใช้สิทธิ Undo สามารถยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557—30 มิถุนายน 2558
• หลักฐานในการ แสดงความประสงค์ Undo
• ข้าราชการ ยื่นใบสมัคร Undo (แบบ ข.1)
– สำเนาบัตรประชาชน/รับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร/รับรองสำเนาถูกต้อง
• ผู้รับบำนาญและทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด ยื่นใบสมัคร (แบบ บ.1)
– สำเนาบัตรประชาชน /รับรองสำเนาถูกต้อง

สามารถ download ใบสมัครได้ที่ www.undo.in.th หัวข้อ การแสดงความประสงค์ /แบบแสดงความประสงค์

Please follow and like us:
Pin Share


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑

RSS
Follow by Email