Guest Relation

Others

Published on พฤษภาคม 3rd, 2015 | by Divali

0

นโยบายของรฐบาลมาเลเซียในการกลับไปปลูกยางพารา

นโยบายของรฐบาลมาเลเซียในการกลับไปปลูกยางพารา
โดย สํานักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศมาเลเซียลดการปลูกยางพารา และหันไปปลูกปาล์มและเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง อย่างไรก็ตาม จากราคายางที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน ทําให้มาเลเซียทบทวนนโยบายของตนและหันกลับไปปลูกยางพาราอีกครั้งหนึ่งโดยคาดว่าจะได้ประโยชน์จากราคายางที่สูงมากขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่20 มาเลเซียเคยเป็นประเทศผู้ผลิตยางอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในขณะนั้น
ยางมีราคาค่อนข้างสูง แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปในช่วงคริสต์ทศวรรษปี 1980 พร้อมกับการเข้ามาของปาล์มน้ํามัน ซึ่งให้ผลผลิตที่เร็วกว่าและราคาสูงกว่ายาง ผู้ปลูกยางหลายรายจึงตัดต้นยางทิ้งเพื่อปลูกปาล์มน้ำามัน

สถานการณ์ถึงจุดหักเหอีกครั้งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เมื่อราคายางพุ่งสูงขึ้น ปีที่แล้ว ราคายางสูงขึ้นร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับราคาปาล์มน้ำมันที่สูงขึ้นร้อยละ 38 ผู้ประกอบการหลายรายเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะกลับไปปลูกยางเพอให้เกิดผลผลิตที่หลากหลาย และเพื่อเพิ่มรายได้

นาย Franki Anthony รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Sime Darby BHd บริษัทมหาชนผู้ปลูกยางพาราที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย กล่าวว่า
บริษัทฯ กําลังเพี่มการปลูกยางเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง เพราะไม่สามารถพึ่งพืชใดพืชหนึ่งเพียงชนิดเดียวได้และบริษัทฯ มีแผนจะเพิ่มพื้นที่ีปลูกยางอีก ๓ เท่าเป็น 15,000 เฮกตาร์หรือประมาณ 93,750 ไร่ (1 เฮกตาร์เท่ากับ 6 ไร่ 1 งาน) ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

ความจริงแล้ว มาเลเซียให้ความสําคัญต่อผลิตภัณฑ์ยางเป็นอย่างมาก มาเลเซียเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกถุงมือยางเป็นอันดับ 1 ของโลก หรือมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของส่วนแบ่งในตลาดโลก ปีที่แล้วมาเลเซียส่งออกผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตได้ภายในประเทศมูลค่า 4.25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 จากปีก่อนหน้า

อุตสาหกรรมปลายน้ําจําเป็นต้องใช้น้ํายางเป็นจํานวนมากในกระบวนการผลิต หากชาวสวนยางไม่สามารถป้อนวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมปลายน้ําได้เพียงพอ หรือหากราคายางพุ่งสูงจนเกินควบคุมผู้ผลิตถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ก็จะประสบกับวิกฤติอันหนักหน่วงได้

บริษัท Top Glove ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตถุงมือชั้นนําของมาเลเซีย กล่าวว่ากําไรสุทธิของบริษัทฯ สําหรับไตรมาสที่หมดลงเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ตกจาก ก 23.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีก่อนลงเหลือ 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 63.9 ทั้งนี้เป็นเพราะราคาน้ำายางที่สูงมากปัญหาด้านต่าง ๆ เหล่านี้ทําให้รัฐบาลมาเลเซียเห็นว่ามีความจําเป็นที่ประเทศจะต้องหัน
กลับมาปลูกยาง ซึ่งเป็นภาคเกษตรที่รัฐบาลได้ละทิ้งมาเป็นเวลานาน

นาย Tan Sri Bernard Dompok รัฐมนตรีกระทรวง Plantation Industries and
Commodities ของมาเลเซียกําลังเสนอให้ครม. อนุมัติจัดตั้งกองทุนมูลค่า 165 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อดําเนินกิจกรรมเพิ่มการปลูกยางในอีก 10 ปีข้างหน้า ทั้งนี้
คาดว่ามาเลเซียจะต้องปลูกยางทดแทนจํานวน
40,000 เฮกตาร์หรือประมาณ 250,000 ไร่ และปลูกยางใหม่อีก 13,000 เฮกตาร์หรือประมาณ 81,250 ไร่ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลกในการส่งเสริมการปลูกยางในพื้นที่กว้าง รัฐบาลมาเลเซียได้จัดสรรโซนนิ่งเพมเติม จํานวน 1
ล้านเฮกตาร์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยางในรัฐซาบาห์และซาราวัก (บนเกาะบอร์เนียว) และจะให้ความช่วยเหลือในการปลูกยางในทั้ง 2 รัฐ สูงสุดเป็นเงิน 10,000 ริงกิต (1 ริงกิต เท่ากับประมาณ 10 บาท)
ต่อเฮกตาร์เทียบกับ 7,000 ริงกิต ต่อเฮกตาร์บนแผ่นดินใหญ่

กระทรวงฯ มีแผนที่จะปลูกยางที่ให้ผลผลิตสูงจํานวน 500,000 เฮกตาร์ในรัฐซาราวัก และ 300,000 เฮกตาร์ในรัฐซาบาห์ภายในปี 2563

ขณะนี้มาเลเซียกําลังวิตกกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตยางสูง นาย Ismail Ibrahim ผู้อํานวยการส่วนภูมิภาคของ Malaysian Rubber Board (MRB) กล่าวว่า ขณะนี้มาเลเซียกําลังประสบปัญหาขาดแคลนกล้ายางอย่างหนัก กล้ายางที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ผลผลิตต่ํา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การกรีดยางมากจนเกินไป และการไม่ใส่ปุ๋ย หรือการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่ไม่
เพียงพอ

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง เขากล่าวว่า MRB กําลังเร่งผลิตพันธุ์ยางทีให้ผลผลิตสูง โดยเร็ว ๆ นี้ได้จัดตั้งสถานีวิจัยยางที่
Similaju และศูนย์เพาะพันธุ์ยางของมาเลเซีย (Malaysian
Rubber Budwood Centre หรือ MRBC) ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศที่
เมือง Bintulu รัฐซาราวัก

นอกจากนี้รัฐบาลมาเลเซียกําลังแต่งตั้งผู้แทนที่จะไปรับซื้อยางโดยตรงจากผู้กรีดยาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการควบคุมราคาของพ่อค้าคนกลาง นาย Dompok กล่าวว่า

วิธีนี้ Malaysian Palm Oil Board ก็กําลังใช้อยู่ซึ่งจะทําให้ลดบทบาทของพ่อค้าคนกลาง โดยเฉพาะในชนบทมาตรการเหล่านี้เป็นการดําเนินความพยายามทจะทําให้อุตสาหกรรมยางของมาเลเซียมีการเติบโตอย่างยั่งยืน และจากความพยายามและประสบการณ์อันยาวนานในอุตสาหกรรมยาง มาเลเซียคาดว่าจะสามารถปิดช่องว่างระหว่างตนเองกับประเทศผู้ผลิตยางอันดับแรก ๆ ของโลก คือ อินโดนีเซียและไทยในอนาคตอันใกล้ได้

ภาพและข้อมูล จาก อินเตอร์เน็ต….

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑