“ทศวรรษ 2010:ผู้สูงวัยเขตสุขภาพที่ ๑๑” หนุนโยบายหมอครอบครัว พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เขตบริการสุขภาพที่ ๑๑
เขตบริการสุขภาพที่ ๑๑ จัดมหกรรม “ทศวรรษ 2010:ผู้สูงวัยเขตสุขภาพที่ ๑๑” หนุนโยบายหมอครอบครัว พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เขตบริการสุขภาพที่ ๑๑
วันที่ 23 เมษายน 2558 เขตบริการสุขภาพที่ ๑๑ จัดมหกรรม “ทศวรรษ 2010 : ผู้สูงวัยเขตสุขภาพที่ ๑๑” ณ ห้องประชุม นพรัตน์ธารา โรมแรมไทม์ปาร์ค แอนด์สปารีสอร์ท อ.เมือง จ.กระบี่ เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานและรูปแบบการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู สุขภาพผู้สูงอายุ ของสถานบริการสุขภาพที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ
นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานและมอบโล่ประกาศเกียรติแก่คุณผู้สูงอายุ จำนวน ๔ รางวัล หลังจากนั้น ได้เปิด นิทรรศการ “ทศวรรษ 2010 ผู้สูงวัยเขตสุขภาพที่ ๑๑ ”
เขตสุขภาพที่ ๑๑ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการดูแล รักษา ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคใน กลุ่มประชากรผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง และในปี2558 ได้ประกาศนโยบาย “ทีมหมอครอบครัว” เป็นยุทธศาสตร์พัฒนา ต่อยอดคุณภาพระบบสุขภาพระดับอำเภอมิติผู้สูงอายุเต็มพื้นที่ 74 อำเภอ โดยมุ่งเน้นให้เกิดความเข้มแข็งของระบบ บริการปฐมภูมิ ลดความเหลื่อมลํ้า และเพิ่มคุณภาพการเข้าถึงบริการ ด้วยบทบาทการให้บริการของภาคสาธารณสุข และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของประซาคมผู้สูงอายุทุกระดับที่เชื่อมโยงกัน 7 มิติ เพื่อให้เห็นบทบาทที่เป็นรูปธรรมความเข้มแข็ง “ทีมหมอครอบครัว” ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ตำบล จนถึง ระดับอำเภอ ได้แก่
1. มิติการบริหารจัดการคุณภาพขององค์กรหน่วยงานระดับอำนวยการ(อำเภอและจังหวัด)
2. มิติคุณภาพของหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ(ปฐมภูมิ /ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ)
3. มิติภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุเข้มแข็ง(อบต./เทศบาล ที่มีระบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุครบวงจร หรือ Long Term Care หรือ มีทีมหมอครอบครัวระดับตำบลที่เข้มแข็ง)
4. มิติการมีส่วนร่วมของประชาคมสุขภาพระดับหมู่บ้าน (ชมรมผู้สูงอายุ/อสม./ทีมหมอครอบครัวระดับหมู่บ้าน)
5. มิติปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (บ้านที่อยู่อาศัย/สถานบริการสาธารณะ/ข้อกำหนด/กฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงวัย)
6. มิติผลผลิตด้านสุขภาพ เป็นมิติที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของระบบดูแล ส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค (ผู้สูงวัยได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง
เพิ่มขึ้น/ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมเพิ่มมากขึ้น)
7. มิติผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นมิติที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จากตัว’ชี้วัด,ที่ สะท้อนถึงการเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และ การดูแล รักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ (ผู้สูงวัยติดเตียงน้อยลง/ผู้สูงวัยติดเตียงได้รับการดูแลเพิ่มมากขึ้น)
ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งในนโยบาย และรูปธรรมการพัฒนาคุณภาพระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แบบองค์รวมตามนโยบาย“ทีมหมอครอบครัว” เขตสุขภาพที่ 11 โดยในเบื้องต้นเขตสุขภาพที่ ๑๑ ได้ จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุขึ้น โดยรวบรวมเนื้อหาสำคัญของทุกกรมในกระทรวงสาธารณสุข และได้พัฒนา แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ที่เหมาะสมกับสังคมภาคใต้ตอนบน
เพื่อมอบให้เป็นเครื่องมือการเฝ้าระวัง สุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุทุกคน (ปัจจุบันได้รับแจกสมุดฯร้อยละ ๑๑) และคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ การพัฒนา ๑ หมู่บ้าน ๑ ฐานข้อมูล
โดยทีมหมอครอบครัวระดับขุมซน และเชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ข้อมูลในการ พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง อันเป็นรากฐาน สู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนา “ทีมหมอครอบครัว” ในระบบ สุขภาพระดับอำเภอ มิติผู้สูงอายุ ตามนโยบายได้ในที่สุด