Guest Relation

Flowers

Published on พฤศจิกายน 4th, 2015 | by Divali

0

ดอกหางนกยูงไทย

หางนกยูงไทยมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Caesalpinia pulcherrima
ชื่อสามัญคือ Barbadose Pride, Dwarf Poinciana เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ลำต้นมีหนามและไม่มีหนาม ดอกมีหลายสี เช่น เหลือง ชมพูแดง ออกดอกตลอดปี ถึงมีชื่อเรียกว่า หางนกยูงไทย แต่ถิ่นกำเนิดจริงๆ มาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ในทะเลคาริบเบียน

หางนกยูงไทยมีลักษณะลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เรือนยอดโปร่ง มีใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่เรียงสลับ มีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง ดอกช่อออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือส่วนยอดของต้น ดอกมีหลาย สีตามพันธุ์       

กลีบดอก 5 กลีบ กลีบใหญ่ 4 กลีบ กลีบเล็ก 1 กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง 5กลีบ โคนเชื่อมปลายแยก ผลเป็นฝักแบน เมล็ดรูปแบนรี เรียงตามขวางของฝักมี 4-9 เมล็ด เมื่อแก่มีสีดำแข็ง ขึ้นได้ในดินทุกสภาพ ชอบแดดจัด ปลูกริมทะเลได้ 

หางนกยูงไทยเป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Family Caesalpiniaceae / Leguminosae) โดยจัดอยุ่ในสกุล Caesalpinia สกุลนี้มีอยู่ด้วยกันประมาณ 70 ชนิด เป็นไม้ใบเขียวตลอดปี มีทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ไม้เลื้อย มีขึ้นทั้งในป่าฝนในที่ราบต่ำ ป่าละเมาะ ไปจนถึงไหล่เขาตามภูเขาสูงในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

Tags: ,


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑