Guest Relation

Local news

Published on ตุลาคม 24th, 2014 | by Divali

0

การรับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ครั้งที่ 3 โครงการขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว

การรับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ครั้งที่ 3
โครงการขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่
โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว

กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ครั้งที่ 3 หรือ ค.3 ของโครงการขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2557 โดยมี นายสมควร ขันเงิน ปลัดจังหวัดกระบี่เป็นประธาน มีนายเผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ (ชพฟช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้แทน บริษัท แอร์เซฟ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาของ กฟผ. มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ครั้งที่ 3 หรือ ค.3 ของโครงการฯ ณ ศาลาประชาคม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยมีประชาชนและมีผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 1,500 คน

สำหรับการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จัดขึ้น 3 ครั้ง คือ ครั้งที่1 (ค.1) จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2557 ณ โรงเรียนบ้านคลองรั้ว หมู่ที่ 1 ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เพื่อชี้แจงความเป็นมา รายละเอียดการดำเนินโครงการ รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อห่วงกังวล และข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำมาประกอบการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปอย่างครบถ้วนและรอบด้านมากที่สุด การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น

ครั้งที่ 2 (ค.2) จัดขึ้นในระหว่าง 28 เมษายน – 12 มิถุนายน 2557 เป็นการลงพื้นที่สำรวจและรับฟังความคิดเห็นภาคสนาม จากผู้นำชุมชน หัวหน้าครัวเรือนและประชาชนในพื้นที่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามด้านเศรษฐกิจสังคมและการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับโครงการ และการจัดเวทีจัดรับฟังความคิดเห็น

ครั้งที่ 3 (ค.3) จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2557 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการทบทวนและนำเสนอผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มเติม เพื่อนำมาประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกัน การแก้ไขผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนต่อไป โดยประชาชนผู้มีส่วนได้เสียมีทั้งหมด 7 กลุ่ม เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ศึกษาใน ต.ตลิ่งชัน ต.คลองขนาน ต.เกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง และใน อ.เกาะลันตา หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คณะผู้ศึกษาและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ผู้แทนหน่วยงานจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ผู้แทนในพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพสต.) นักการเมืองท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ผู้แทนองค์กรและกลุ่มจัดตั้งอื่นๆ เช่น กลุ่มด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มอาชีพ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป มาร่วมแสดงความคิดเห็น

ส่วนการจัดับบฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Public Review) ครั้งที่ 3 หรือ ค.3 ของโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว นั้น กฟผ.และบริษัทที่ปรึกษา

จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2557 โดยมี นายกริช รังสิเสนา ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เป็นประธาน มีนายเผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ (ชพฟช.) เป็นผู้แทน กฟผ. มีผู้แทนของบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาของโครงการ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ ศาลาประชาคม อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยมีผู้มีส่วนได้เสียมาร่วมประชุมกว่า 1,500 คน

การรับฟังความคิดเห็นของโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว นั้น จัดขึ้น 3 ครั้ง เช่นกัน คือ ครั้งที่ 1 (ค.1) จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2557 ณ โรงเรียนบ้านคลองรั้ว หมู่ที่ 1 ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เพื่อชี้แจงความเป็นมา รายละเอียดการดำเนินโครงการ รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อห่วงกังวล และข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำมาประกอบการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปอย่างครบถ้วนและรอบด้านมากที่สุด การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น

ครั้งที่ 2 (ค.2) จัดขึ้นในระหว่าง 28 เมษายน – 12 มิถุนายน 2557 เป็นการลงพื้นที่สำรวจและรับฟังความคิดเห็นภาคสนาม จากผู้นำชุมชน หัวหน้าครัวเรือนและประชาชนในพื้นที่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามด้านเศรษฐกิจสังคมและการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับโครงการ และการจัดเวทีจัดรับฟังความคิดเห็น และครั้งที่ 3 (ค.3) จัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2557 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการทบทวนและนำเสนอผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มเติม เพื่อนำมาประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกัน การแก้ไขผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและการยอมรับจากชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

ความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียต่อโครงการฯ
เหตุผลของผู้ที่เห็นด้วย

เข้าใจถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทราบว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องนำไฟฟ้ามาจากภาคกลาง และซื้อจากประเทศมาเลเซียมาใช้ ทำให้มองเห็นถึงวิกฤติพลังงานในอนาคตอันใกล้ การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ดี ส่วนความกังวลว่า การใช้ถ่านหินจะทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น เชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในการผลิตไฟฟ้าจะมีความทันสมัยและปลอดภัย และถ่านหินที่นำมาใช้ก็เป็นถ่านหินคุณภาพดีที่นำเข้าจากต่างประเทศจึงมั่นใจในความปลอดภัยที่มีต่อประชาชนชุมชนรอบโรงไฟฟ้า สิ่งที่ชาวกระบี่ก็ต้องการจาก กฟผ.คือความจริงใจของ กฟผ.ต่อชุมชน โดยเฉพาะที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ต้องรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในทุกๆด้าน เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงทั้งด้านบวกและด้านลบ มีการวางแผนการทำงานที่ชัดเจน อนุญาตให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและตรวจสอบการทำงาน มีการพิจารณาค่าชดเชยที่สมเหตุสมผล และขอให้รับบุตรหลานในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเข้าทำงานที่ กฟผ. ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เหตุผลของผู้ที่ไม่เห็นด้วย

มีความกังวลด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดจากผลกระทบจากสารเคมีที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตไฟฟ้ามาทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าในรายงานงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ฉบับเต็มของ กฟผ. ยังขาดข้อมูลพื้นฐานทางด้านสุขภาพ และและอันตรายที่จะเกิดจากสารชนิดต่างๆ รวมทั้งความวิตกกังวลว่าการก่อสร้างสะพานและการใช้เรือลำเลียงถ่านหิน อาจจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง
ทั้งนี้ ขอเสนอแนะและข้อห่วงกังวลทั้งหมด นั้นกฟผ. มีความเข้าใจและห่วงใยความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ทุกคนและยืนยันว่า จะทำหน้าที่ในการพัฒนาโครงการขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ และโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วให้ดีที่สุด มีผลกระทบต่อประชาชนสังคมและชุมชนน้อยที่สุด ให้ชุมชนมีส่วนร่วม และจะรวบรวมข้อวิตกกังวลและความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อหาแนวทางวางมาตรการในการป้องกัน แก้ไขผลกระทบ พร้อมมาตรการในการตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนตลอดไป

ขั้นต้อนการอนุมัติโครงการ

หลังจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครบ 3 ครั้งแล้ว บริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดมาจัดทำเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการให้ความเห็น และนำเสนอต่อองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและหน่วยงานผู้อนุญาต เพื่อพิจาณาให้ความเห็นตามลำดับจากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อประกอบการอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรีต่อไป

ความเป็นมาของโครงการขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่และโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว

เกิดขึ้นตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2010 ปรับปรุง ครั้งที่ 3 ได้กำหนดให้ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จำนวน 4 เครื่อง มีกำลังผลิตรวม 3,200 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2562, 2565, 2568 และ 2571 ตามลำดับ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพื่อความสะดวกในการขนส่งถ่านหินคุณภาพดีนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ขณะนี้อยู่ในระหว่างศึกษาเพื่อพัฒนาขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ฯ มีขนาดกำลังผลิต 870 เมกะวัตต์ โดยจะสร้างในพื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ต.คลองขนาน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยดำเนินการขออนุมัติโครงการภายใน ปี 2558 หลังจากอนุมัติแล้ว กฟผ.ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อให้เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้ภายในปี 2562

ภาพและข่าว :  ฐิติภัทร ภาณุไพศาล

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑