Guest Relation

Very Krabi

Published on มิถุนายน 16th, 2015 | by Divali

0

การพัฒนาเทคโนโลยีโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ ของ กฟผ.

        เพราะกระบี่คือความภูมิใจของคนไทยและชาวโลก การพัฒนาเทคโนโลยีโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ ของ กฟผ. จึงมุ่งตอบทุกโจทย์บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ

20150529-M01-00

เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากระบี่ เป็นผลมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีภายใต้มาตรฐานการปกป้องมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่ามาตรฐานตามกฎหมาย และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น หลังผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIAของโรงไฟฟ้าและท่าเทียบเรือ

20150529-M01-01

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ค.3 โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2557

โรงไฟฟ้ากระบี่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 870 Glossary Link เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี ค่ากำมะถันไม่เกิน 1% ประเภทถ่านหินซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส ระบบเผาไหม้และหม้อไอน้ำของโรงไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยี Ultra supercritical ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหม้อไอน้ำที่พัฒนาแล้วในเชิงพาณิชย์ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่มีประสิทธิภาพการผลิตพลังงานถึงร้อยละ 42-45 เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีเดิม(Sub critical) ที่มีประสิทธิภาพร้อยละ 35-38 ทำให้ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่าร้อยละ 20

20150529-M01-02

เทคโนโลยีในการควบคุมมลสารของโรงไฟฟ้า ได้แก่ ระบบกำจัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (SCR) กำจัดฝุ่นละออง (ESP) และกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) สามารถควบคุมอัตราการปล่อยก๊าซมลสารได้ดีกว่ามาตรฐานไม่น้อยกว่า 3 เท่าตัว

20150529-M01-03

เทคโนโลยีเพื่อลดมลสารกลุ่มนี้ นอกจากจะช่วยดักจับก๊าซมลภาวะต่างๆ แล้ว ยังดักจับโลหะหนักประเภทต่างๆ และเพื่อสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้น โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ยังได้นำเทคโนโลยีระบบจับปรอท Activated Carbon Injection (ACI) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับสารปรอทหลังการเผาไหม้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่า การตรวจวัดสารตกค้างต่างๆ ทั้งในธรรมชาติ พืชและสัตว์ เป็นมาตรการที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายและข้อตกลงในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานโรงไฟฟ้า

ถ่านหินที่ใช้ จะนำเข้าจากอินโดนีเซีย หรือออสเตรเลีย โดยเรือขนส่งถ่านหินขนาดเล็กระบบปิด มายังท่าเทียบเรือบริเวณบ้านคลองรั้ว เพื่อป้องกันการร่วงหล่นและฟุ้งกระจาย ซึ่งมาจากการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบอาชีพทั้งการประมงและท่องเที่ยว ที่ต้องการให้โครงการฯ ใช้เรือขนส่งถ่านหินขนาดเล็ก ดังนั้นจึงจะใช้เรือขนาด 10,000 ตัน ขนส่งถ่านหินเที่ยวละ8,000 ตัน ตามความต้องการใช้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าวันละ 7,260ตัน ไปกลับวันละเที่ยว

20150529-M01-04

การเดินเรือขนส่งถ่านหินจะไม่สร้างผลกระทบต่อจุดดำน้ำดูปะการังและแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เนื่องจากจากเส้นทางเดินเรือห่างจากจุดดำน้ำเกือบทั้งหมด เกินกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไป จุดที่ใกล้ที่สุดมีเพียง 2 จุด อยู่ห่าง 4 – 6 กิโลเมตร ความเร็วการเดินเรือใกล้ชายฝั่งจะไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อลดคลื่นและการกวนตะกอนท้องน้ำ

20150529-M01-05

การลำเลียงถ่านหินจากท่าเทียบเรือมายังโรงไฟฟ้า จะเป็นระบบปิดเช่นกัน จากนั้นก็จะลำเลียงถ่านหินไปตามอุโมงค์ หรือสายพานลำเลียงระบบปิดไปยังโรงไฟฟ้าซึ่งอยู่ไกลจากชายฝั่งกว่า 10 กิโลเมตร ส่วนกรณีหากเรือขนส่งถ่านหินเกิดอุบัติเหตุหรือจม จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เนื่องจากถ่านหินไม่ละลายน้ำ พร้อมทั้งมีมาตรการกู้เรือตามหลักมาตรฐานสากล

เทคโนโลยีโรงไฟฟ้ากระบี่ ทุกขั้นตอน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น หรือตั้งแต่การออกแบบโครงการ เพื่อตอบทุกโจทย์การพัฒนาในพื้นที่โครงการ และจะยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไปตลอดอายุการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า

www.egat.co.th

 

Please follow and like us:
Pin Share

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑

RSS
Follow by Email