Guest Relation

Local news

Published on กรกฎาคม 15th, 2016 | by Divali

0

การประชุมสัมนา ครั้งที่ 3 และการรับฟังความคิดเห็นต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวอ่าวน้ำเมา ต.ไสไท และ ท่าเรือไร่เลตะวันออก ต.อ่าวนางอ.เมือง จ.กระบี่

ประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวอ่าวน้ำเมา ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือบริเวณอ่าวไร่เลตะวันออก ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 18.45-21.00 น.ที่ห้องประชุมนิมิตรา โรงแรมไดมอนด์เคฟ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ นายสุริยัน ณรงค์กูล นายอำเภอเมืองกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา ครั้งที่ 3 และการรับฟังความคิดเห็น ต่อรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวอ่าวน้ำเมา ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือบริเวณอ่าวไร่เลตะวันออก ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และมีนายดนัย คำนึงเนตร ผู้แทนกรมเจ้าท่า กล่าวรายงาน มีประชาชน ผู้นำชุมชนเช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนาที่อยู่ในพื้นที่ ภาคราชการ เอกชน สถานศึกษา และสื่อมวลชน ร่วมประชุมสัมมนา 400 คนเศษ

กรมเจ้าท่า ได้ว่า จ้างบริษัท ซี สเปคตรัม จำกัด และบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร เพื่อการท่องเที่ยวอ่าวน้ำเมา ตำบลไสไทย อำเภอเมือง และโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือบริเวณอ่าวไร่เลตะวันออก ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้มีความยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และสำรวจออกแบบเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวอ่าวน้ำเมา ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือบริเวณอ่าวไร่เลตะวันออก ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ อันจะทำให้การสัญจรทางเรือและจอดเรือ เกิดความสะดวก ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และนักท่องเที่ยว ตลอดจนใช้เป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
2.เพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดองค์ประกอบโครงการ ปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ ให้มีการกระทบด้านลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตลอดจนประมาณค่าก่อสร้าง รวมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา แบบรายละเอียด รายการประกอบแบบ ข้อกำหนดและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินงานก่อสร้างต่อไป
3.เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) งานสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เพื่อนำเสนอให้ความเห็นชอบ

อ่าวน้ำเมา มีหมู่บ้านชาวประมงที่อยู่ห่างจากอ่าวนางประมาณ 4 กิโลเมตร ปัจจุบันมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวบริเวณหาดน้ำเมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อ่าวน้ำเมายังไม่มีสถานบันเทิง จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความสงบและเป็นส่วนตัว บริเวณอ่าวน้ำเมาจะมีท่าเทียบเรือซึ่งมีเรือออกไปยังอ่าวไร่เลย์ และเกาะแก่งต่าง ๆ โดยปัจจุบันท่าเทียบเรืออ่าวน้ำเมามีสภาพชำรุด ทรุดโทรม คับแคบ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และไม่ปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงสมควรได้รับการพัฒนาให้มีความเหมาะสม รองรับการขยายตัวและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำในบริเวณต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวมีความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง

เนื่องจากโครงสร้างท่าเทียบเรือเดิมยังคงใช้ควบคู่กันไปทำให้โครงการยังคงประสานการใช้ประโยชน์ท่าเทียบเรือเดิมและท่าเรือใหม่เข้าด้วยกัน โดยท่าเทียบเรือเดิม สามารถรองรับเรือโดยสารท่องเที่ยวขนาดเล็กใช้เป็นท่าเทียบเรือสำหรับขนถ่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ของผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนอ่าวไร่เลย์
สำหรับท่าเทียบเรือหลักแหล่งใหม่เป็นรูปตัวอักษรอี (E) มีขายื่นออกมา 3 ขา มีความยาว 30-40-50 เมตร สำหรับจอดเรือรับส่งผู้โดยสาร 100-200-300 ที่นั่ง โดยแต่ละขาสามารถจอดเรือได้ทั้งสองข้างทำให้สามารถจอดเรือโดยสารได้พร้อมกัน 6 ลำ แต่ละท่าจะมีช่องบันไดขึ้น-ลง จำนวน 2 จุด พื้นท่าเรือสูง +3.0 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีศาลาที่พักผู้โดยสารรวม 5 แห่ง

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในการดำเนินงานของโครงการฯอาทิเช่นพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ,ประกาศเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดีบนานาชาติ และระหว่างประเทศ(Ramsar Site),ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555,ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พ.ศ.2553,พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558

ภาพและข่าว : Toon Paitoon

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑