Guest Relation

Very Krabi

Published on กรกฎาคม 8th, 2015 | by Divali

0

การนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า

การนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวกระบี่

โรงไฟฟ้ากระบี่ดำเนินการ นำน้ำมันปาล์ม มาเป็นเชื้อเพลิงร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พศ. 2556 โดยในปี 2556 กฟผ. รับนโยบายจากรัฐบาล มาให้ดำเนินการปรับปรุงโรงไฟฟ้ากระบี่ ซึ่งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ให้สามารถรับน้ำมันปาล์ม cpoA มาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า โรงไฟฟ้ากระบี่จึงเริ่มศึกษาและดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้ากระบี่จนสำเร็จ

โดยอัตราการใช้น้ำมันปาล์มในการทดสอบครั้งแรกในปี 2556 อยู่ที่อัตราการใช้น้ำมันปาล์ม 4.4 ตัน/ชั่วโมงในช่วงระหว่างปี 2556 ต่อเนื่องปี 2557 โรงไฟฟ้ากระบี่ ได้นำน้ำมันปาล์ม cpoA มาใช้ เพื่อช่วยระบาย stock น้ำมันปาล์มในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 10,000 ตัน

หลังจากประสบความสำเร็จในการปรับปรุงโรงไฟฟ้าให้สามารถใช้น้ำมันปาล์มได้สำเร็จ โรงไฟฟ้ากระบี่ ก็พัฒนาต่อยอดปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มเติมขยายอัตราส่วนการใช้น้ำมันปาล์มจากเดิมที่ 4.4 ต้น/ชั่วโมง มาเป็น 18 ตัน/ชั่วโมง และสร้างถังน้ำมันปาล์มเพิ่มเติมจำนวน 1 ถัง สามารถกักเก็บน้ำมันปาล์มได้ถึง 1.5 ล้านลิตร โดยการปรับปรุงครั้งล่าสุดนี้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อเดือน มิถุนายน 2558 โดยใช้งบประมาณในการปรับปรุงโรงไฟฟ้ากระบี่ จำนวนทั้งสิ้น 82 ล้านบาท โดย กฟผ. ลงทุนเองทั้งหมดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มในจังหวัดกระบี่

อัตราการใช้น้ำมันปาล์ม

อัตราการใช้น้ำมันปาล์มของโรงไฟฟ้ากระบี่ ปรับปรุงล่าสุด ถ้าเดินเครื่องเต็มกำลัง มีแค่ unit เดียวที่ 340 MW จะใช้น้ำมันทั้งหมด 73 ตัน/ชั่วโมง โดยจะใช้ในส่วนของน้ำมันเตา 55 ตัน/ชั่วโมง และใช้น้ำมันปาล์ม 18 ตัน/ชั่วโมง

แต่ถ้าเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าไม่เต็มกำลัง หาก เดินเครื่อองผลิตไฟฟ้าแค่ 50% ของ กำลังการผลิต นั่นคือเดินเครื่องผลิตไฟที่ 170 MW จะใช้เชื้อเพลิงที่ 39 ตัน/ชั่โมง จะใช้น้ำมันเตาที่ 17 ตัน/ชั่วโมง และใช้น้ำมันปาล์มที่ 12 ตัน/ชั่วโมง

การซื้อ CPO ..A แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกซื้อ 750000 ลิตร เพิ่อใช้ทดสอบอุปกรณ์ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์หน้า ระยะที่สองเป็นการซื้อเพื่อเดินเครื่อง เป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดซื้อเชื้อเพลิง ซึ่งอยุ่ระหว่างการประสาน กับ อคส.

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑