Guest Relation

ไม่มีหมวดหมู่

Published on มีนาคม 27th, 2014 | by Divali

0

กฟผ.เดินหน้าพัฒนาพลังงานทดแทนภายในประเทศ เตรียมลงนามสัญญาจ้างติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 5 เมกะวัฒน์ในอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

กฟผ. ใช้พื้นที่อำเภอทับสะแกเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาพลังงานทดแทนภายในประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ล่าสุดคัดเลือก 4 กลุ่มบริษัท เข้าร่วมติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนมีนาคมนี้ พร้อมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในเดือนพฤษภาคม 2558

นายไพสิฐ ตัณฑุลพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาพลังงานทดแทน

โดยดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังผลิต 5 Glossary Link เมกะวัตต์ และยังมีงานวิจัยอีก 2 โครงการคือ โครงการพัฒนากังหันลมชนิดแกนนอนขนาด 250 Glossary Link กิโลวัตต์ และโครงการพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้าระบบก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ ขนาดกำลังผลิต 500 Glossary Link กิโลวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามนโยบายของรัฐบาล

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะนี้ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการรอลงนามสัญญาจ้าง ซึ่งคาดว่าจะพร้อมก่อสร้างได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ประมาณเดือนพฤษภาคม 2558

นายไพสิฐ กล่าวต่อไปว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ออกแบบให้ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ 4 ชนิด มาติดตั้งใช้งาน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ได้แก่

1. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน (c-Si) Glossary Link กำลังผลิตติดตั้ง 1 Glossary Link เมกะวัตต์ ใช้การติดตั้งพร้อมระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก (Solar Weight Tracking System) ที่ใช้น้ำเป็นตัวกลาง ซึ่งพัฒนาโดย กฟผ.

2. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอน (a-Si) Glossary Link กำลังผลิตติดตั้ง 2 เมกะวัตต์ ใช้การติดตั้งแบบคงที่

3. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไมโครคริสตอลไลน์อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Micro Crystalline Amorphous Silicon) กำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ ใช้การติดตั้งแบบคงที่

4. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารประกอบของคอปเปอร์อินเดียมไดเซเลไนด์ (Copper Indium (Gallium) Di-Selenide) กำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ ใช้การติดตั้งแบบคงที่

โดย กฟผ. ได้ทำการคัดเลือกกลุ่มบริษัท 4 บริษัท เข้าดำเนินงาน ได้แก่ บริษัท Hydrochina international Engineering Co, Ltd, บริษัท Ying Energy (Beijing) Co, Ltd, บริษัท Hedei Electric Power Design & Research Institute จากจีน ร่วมกับบริษัท Watanasuk Engineering Co, Ltd ของไทย

“นอกจากการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว กฟผ. ยังมีงานวิจัยอีก 2 โครงการ คือ

1. โครงการพัฒนากังหันลมชนิดแกนนอน สำหรับความเร็วลมต่ำในประเทศไทย

2.โครงการพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้าระบบก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามนโยบายภาครัฐ

รวมไปถึงการใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางด้านพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร แสดงให้เห็นว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม” นายไพสิฐ กล่าว

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ภายใต้วงเงินลงทุน 631.48 ล้านบาท และเป็นหนึ่งในโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ กฟผ.

เพื่อสนองนโยบายของภาครัฐในการนำพลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ร้อยละ 25 ใน 10 ปี
(พ.ศ.2555-2564) ของประเทศ


ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Please follow and like us:
Pin Share


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑

RSS
Follow by Email